บทความ

วงจรแบ่งแรงดันและวงจรแบ่งกระแส

รูปภาพ
     เนื่องจากภายในวงจรไฟฟ้านั้น อาจประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างหลายชนิด ซึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิดนั้น อาจจะมีความต้องการแรงดันไฟฟ้า (voltage) หรือกระแสไฟฟ้า (current) แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแบ่ง แรงดันไฟฟ้า หรือกระแสไฟฟ้าออกเป็นส่วนๆ เพื่อนำไปใช้เลี้ยงอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆ นอกจากนี้ยังเป็นการทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเหล่านั้นทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและไม่สร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้น 1. วงจรแบ่งแรงดันไฟฟ้า (Voltage divider circuit)       เป็นวงจรที่ใช้สำหรับแบ่งค่าแรงดันไฟฟ้าออกเป็นหลายๆ ค่า เพื่อใช้เลี้ยงอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ในวงจรโดยใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าเพียงแหล่งเดียว โดยนำตัวต้านทาน (resistor) มาเป็นตัวแบ่งแล้วนำกฎของโอห์มมาประยุกต์ใช้ในการแบ่งแรงดันไฟฟ้าในวงจร        วงจรแบ่งแรงดันนี้เป็นวงจรที่ประกอบด้วยตัวต้านทานตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปโดยต่ออนุกรมกันกับแหล่งจ่ายไฟฟ้า (electric source) วงจงแบ่งแรงดันนี้แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ                                            1. วงจะแบ่งแรงดันแบบไม่มีโหลด (unloaded voltage divide

การเปลี่ยนการต่อสตาร์-เดลต้าและวงจรบริดจ์

รูปภาพ
       ในวงจรไฟฟ้าที่ซับซ้อนบางครั้งไม่สามารถหาค่าความต้านทานรวมของวงจรได้ จากการใช้หลักการของวงจรขนานหรืออนุกรม การแปลงตัวต้านทานที่ต่อแบบสตาร์หรือเดลต้า จึงเป็นวิธีการแก้ปัญหาโจทย์วิธีหนึ่งที่ใช้ในกรณีที่มีการต่อวงจรตัวต้านทานแบบที่ไม่อยู่ในรูปแบบอนุกรมหรือขนานเมื่อแปลงรูปแบบการวางตัวต้านทานไปแล้วจะสามารถรวมค่าความต้านทานได้การต่อตัวต้านทานในที่นี้เป็นการเชื่อมต่อตัวต้านทานระหว่างจุดเชื่อมต่อ 3 จุด ในรูป 1 คือ จุด A B, C ซึ่งมี2 รูปแบบ คือ แบบสตาร์ (Star) หรือ วาย (Y) หรือ และอีกรูปแบบหนึ่งคือแบบเดลต้า (Delta) เป็นการเชื่อมโยงตัวต้านทานมี ลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม รูปที่ 1 วงจรความต้านทานสตาร์-เดลต้า การแปลงวงจรความต้านทานสตาร์-เดลต้า และ เดลต้า-สตาร์        จากรูปที่ 1 สมการที่ใช้ในการแปลงวงจรตัวต้านทานจาก สตาร์(Y) เป็น เดลต้า(∆)หรือจากเดลต้าเป็นสตาร์ ทำได้โดยการใช้สมการการแปลงดังต่อไปนี้ การแปลงวงจรความต้านทานสตาร์-เดลต้า รูปที่ 2 สูตรการแปลงความต้านทานสตาร์-เดลต้า     สรุป การแปลงเดลต้า – สตาร์ “ค่าความต้านทานในเดลต้าจะมีค่า